20 สัญญาณมือ การขับขี่มอเตอร์ไซค์ อย่างปลอดภัย

20 สัญญาณมือ การขับขี่มอเตอร์ไซค์ อย่างปลอดภัย

20 สัญญาณมือ การขับขี่มอเตอร์ไซค์ อย่างปลอดภัย สายเดินทางไกล เน้นขับขี่รถมอเตอร์ไซค์คู่ใจท่องเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน นอกจากใช้สัญญาณไฟช่วยบอกทางพร้อมเป็นสัญลักษณ์เตือนขณะขับขี่รถบนท้องถนนแล้ว การมีความรู้เรื่องสัญญาณมือนับว่า เป็นตัวช่วยที่สำคัญต่อความปลอดภัยทั้งแก่ตัวเองและผู้ร่วมทาง ดังนั้น ทางเราจึงรวบรวมข้อมูลสัญญาณมือที่ควรรู้มาฝาก เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและความสามัคคีของทุกท่าน

สารบัญ

สัญญาณมือสำหรับการขับขี่มอเตอร์ไซค์เดินทางไกลนั้น มีให้เรียนรู้หลายรูปแบบ ซึ่งล้วนนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองและเพื่อนร่วมทริปได้มากเลยทีเดียว ไม่เพียงเท่านี้ ยังสามารถใช้เป็นสัญญาณมือให้คนที่สัญจรไปมาได้รับทราบด้วย เนื่องจากสัญญาณมือที่จะแนะนำนี้ ใช้สื่อสารได้เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ซึ่งหวังว่าสายเดินทางไกลทุกท่าน จะนำไปใช้เพื่อการเดินทางเป็นหมู่คณะอย่างสนุกสนาน และถึงที่หมายอย่างปลอดภัย  

20 สัญญาณมือ การขับขี่มอเตอร์ไซค์ อย่างปลอดภัย

20 สัญญาณมือ การขับขี่มอเตอร์ไซค์ อย่างปลอดภัย

1. สัญญาณมือสตาร์ทรถ : ยกมือซ้ายขึ้นเหนือศีรษะ ชูนิ้วชี้ขึ้น แล้วหมุนเป็นวงกลม

2. สัญญาณมือเตรียมออกรถ : กางแขนซ้ายขึ้นตั้งฉาก 90 องศา ชูนิ้วชี้ขึ้น

3. สัญญาณมือขับขี่เรียงเดี่ยว : กรณีที่เส้นทางข้างหน้ามีความคับแคบ จำเป็นต้องขับขี่เป็นแถวตอนเรียงหนึ่ง ผู้นำขบวนสามารถชูมือซ้ายขึ้นเหนือศีรษะ พร้อมทั้งยกนิ้วชี้ขึ้นเพื่อแจ้งให้ผู้ร่วมทริปทราบเพิ่มเติมได้

4. สัญญาณมือเพิ่มความเร็ว : เมื่อเส้นทางโล่งเป็นจังหวะที่สามารถเพิ่มความเร็วได้ ต้องการแจ้งให้ผู้ร่วมเดินทางทราบ ให้แบมือซ้ายหงายขึ้นข้างลำตัวแล้วโบกขึ้น

5. สัญญาณมือเลี้ยวซ้าย : เมื่อเจอทางแยกแล้วต้องเลี้ยวซ้าย ผู้ขับขี่ที่อยู่ในตำแหน่งนำขบวนจำเป็นต้องชูมือซ้าย และชี้ไปทางด้านซ้าย เพื่อแสดงสัญญาณในการเลี้ยวซ้าย

6. สัญญาณมือเลี้ยวขวา : การส่งสัญญาณมือในการเลี้ยวขวาจะคล้ายกับการเลี้ยวซ้าย แต่ว่าการเลี้ยวขวาจะเป็นการชี้มือซ้ายไปทางด้านขวาแทน

7. สัญญาณมือปิดไฟเลี้ยว : กางแขนซ้ายตั้งฉาก 90 องศา แบมือ แล้วจีบนิ้วเข้าหากัน

8. สัญญาณมือเชิญให้ขึ้นนำ : เมื่อผู้ขับขี่ต้องการส่งสัญญาณให้ผู้ที่ตามหลังแซงขึ้นหน้า ควรทำสัญลักษณ์มือโดยการยื่นแขนซ้าย พร้อมทั้งชี้นิ้วไปด้านหลัง แล้วจึงโบกขึ้นมาในระดับบริเวณหน้าอก

9. สัญญาณมือห้ามแซง : กางมือซ้ายออกมา แบบมือคว่ำลง แล้วโบกเข้าหาลำตัว

10. สัญญาณมือจุดเสี่ยงอันตราย : ชี้ไปที่วัตถุด้วยมือซ้ายของคุณที่มุม 45 องศา

11. สัญญาณมือน้ำมันหมด : ใช้มือซ้ายชี้ไปที่ถังน้ำมัน

12. สัญญาณมือทางคดเคี้ยว : ชูมือซ้ายขึ้นเหนือศีรษะ กำมือชูสองนิ้ว แล้วโบกมือไปมา

13. สัญญาณมือชะลอความเร็ว : ผู้นำขบวนเมื่อเห็นถึงสถานการณ์บนท้องถนนข้างหน้าที่อาจดูผิดปกติ และต้องใช้ความระมัดระวังสูง การส่งสัญญาณให้ชะลอความเร็วจึงสามารถทำได้โดยการกางแขนซ้ายออกมาในระดับหน้าอก แล้วโบกแขนขึ้นลง

14. สัญญาณมือหยุดรถ : เมื่อผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ต้องการหยุดรถ ยกมือซ้ายตั้งฉาก 90 องศา เพื่อเป็นการแจ้งผู้ร่วมขบวนถึงหยุดรถล่วงหน้า

15. สัญญาณมือหยุดรถฉุกเฉิน : หากเกิดเหตุการณ์ที่ผู้นำขบวนเห็นว่าจำเป็นต้องมีการหยุดรถแบบฉุกเฉิน และกระทันหัน สัญลักษณ์มือจะไม่ใช่แบบเดียวกับการหยุดรถแบบปกติทั่วไป แต่ผู้ส่งสัญญาณจะต้องยกมือซ้ายขึ้นเหนือบริเวณศีรษะ จากนั้นจึงกำมือ เพื่อให้ผู้ร่วมขบวนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน

16. สัญญาณมือกลับรถ : เมื่อผู้นำขบวนอยู่ในเส้นทางที่ต้องทำการกลับรถ ผู้ขับขี่สามารถส่งสัญลักษณ์มือโดยการยกมือซ้ายขึ้น แล้วจึงวนเป็นวงกลมบริเวณศีรษะเป็นจำนวน 3 รอบ โดยส่งสัญญาณแจ้งเตือนผู้ร่วมทางล่วงหน้าเป็นระยะทาง 100 เมตร ก่อนถึงจุดกลับรถ

17. สัญญาณมือขับขี่สลับฟันปลา : เมื่ออยู่ในเส้นทางที่โล่ง และไร้ซึ่งสิ่งกีดขวางใด ๆ หรือกำลังขับขี่อยู่ในถนนที่มีด้วยกันหลายช่องทาง ผู้ขับขี่สามารถแจ้งให้ผู้ร่วมเดินทางเลือกใช้วิธีการขับขี่แบบสลับฟันปลาได้ โดยชูมือซ้ายขึ้น พร้อมทั้งชูนิ้วชี้ และนิ้วกลางขึ้นสองนิ้ว

18. สัญญาณมือแจ้งอุปสรรคด้านซ้าย : กรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ผู้ขับขี่ต้องการแจ้งให้ผู้ที่ตามหลังรับทราบถึงอุปสรรคด้านซ้าย สามารถทำได้โดยการยื่นมือซ้ายออกมาและชี้ลงที่พื้น

19. สัญญาณมือแจ้งอุปสรรคด้านขวา : หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ผู้ขับขี่ต้องการแจ้งให้ผู้ที่ตามหลังรับทราบถึงอุปสรรคด้านขวา กรณีใช้มือขวาไม่ได้สามารถทำได้โดยกางขาขวาออกมาบริเวณนอกตัวรถ เพื่อให้ผู้ที่ขับขี่ตามหลังสามารถสังเกตได้

20. สัญลักษณ์ระวังถนนลื่น : ไม่ว่าจะเป็นแอ่งน้ำ หรือกรวดหินดินทรายที่อาจเป็นอันตรายต่อการขับขี่ในแง่ของถนนที่ลื่นขึ้นกว่าเดิมหากไม่ระมัดระวัง ผู้ขับขี่สามารถทำสัญญาณมือได้โดยกางมือซ้ายออกมาบริเวณข้างลำตัว พร้อมหมุนมือเป็นวงกลมวนไปมา

ตำแหน่งในขบวนของรถมอเตอร์ไซค์

20 สัญญาณมือ การขับขี่มอเตอร์ไซค์ อย่างปลอดภัย

การออกทริปเป็นกลุ่ม ชาวไบค์เกอร์ทุกคนจำเป็นที่ต้องรู้หน้าที่ตำแหน่งในขบวนของแต่ละคน เนื่องจากมีความสำคัญมาก ๆ ต่อการขับขี่เดินทางไกล ซึ่งแต่ละตำแหน่ง แต่ละหน้าที่ เป็นอย่างไรบ้างมาดูเพิ่มเติมกันเลย

  • Lead Rider (ผู้นำกลุ่ม) ต้องเป็นผู้ที่มีประสบกรณ์ขับขี่ชำนาญเส้นทางมากที่สุด ควบคุมความเร็วและทิศทางของทริป
  • Wingman (คนคุมปัก) ช่วยเสริมการตัดสินใจต่าง ๆ คอยเปิดทาง กันช่องทางให้ขบวนสามารถเคลื่อนไปได้อย่างสะดวก
  • Rider (คนขี่ในขบวน) ต้องเคยมีประสบการณ์ในการออกทริปบ้างแล้ว
  • New Rider (มือใหม่) อยู่ท้ายขบวนให้ใกล้กับคนคุมท้ายมากที่สุด
  • Tail Gunner (คนคุมท้าย) เป็นตาหลังของผู้นำกลุ่ม คอยควบคุมลำดับการขับขี่ แจ้งเตือนปัญหาต่าง ๆ พร้อมทั้งต้องมีประสบการณ์สูงสุด ทักษะดี รถมีกำลังสูงไว้ไล่ตามเวลาเกิดปัญหาข้างหน้า
  • Marshall (คนจัดระเบียบกลุ่ม) เพื่อไม่ให้รถแทรกเข้ามาระหว่างกลุ่ม ช่วยเสริมและเติมส่วนที่ขาดของกลุ่ม ต้องขับขี่ขึ้นลงขบวนตลอดเวลา

บทความแนะนำ

สรุป

การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ท่องเที่ยวเดินทางไกล ควรมีการวางแผนในเรื่องของเส้นทางก่อนออกทริปเสมอ เพื่อลดปัญหาระหว่างทาง และเป็นการตั้งรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้การเรียนรู้เรื่อง “สัญญาณมือ” และ “หน้าที่ตำแหน่งในขบวน” นับว่าเป็นเกาะเสริมความปลอดภัยของชาวไบค์เกอร์ได้เป็นอย่างดี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การใช้สัญญาณมือจะประสบความสำเร็จ และอำนวยความปลอดภัยแก่ผู้เดินทางได้แล้ว ทุกคนต้องมีความสามัคคีกัน และอย่าลืมก่อนออกทริปเดินทางไกล ทุกท่านควรตรวจเช็กอะไหล่มอเตอร์ไซค์ และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถมอเตอร์ไซค์ว่า มีจุดเสียหายหรือชำรุดหรือไม่ เพื่อทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่มอเตอร์ไซค์ให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มสมรรถนะในการขับขี่มากยิ่งขึ้น โดยทุกท่านสามารถสั่งซื้ออะไหล่มอเตอร์ไซค์ได้ที่ร้าน NRM Motor ศูนย์รวมอะไหล่มอเตอร์ไซค์ทุกชนิด ทั้งของแท้ศูนย์และของทดแทน ในราคาย่อมเยา รับรองได้ว่า คุณจะได้อะไหล่มอเตอร์ไซค์ที่ดีที่สุด และคุ้มค่าที่สุดแน่นอน

สามารถสั่งซื้อสินค้าโดยตรงได้ที่

Shopee : NRM Motor

โทร : 04-4511982

Line : @narinmotor

Facebook : NRM Motor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *