เช็กให้ชัวร์ โช้คอัพเสียหรือเสื่อมสภาพหรือไม่!?

เช็กให้ชัวร์ โช้คอัพเสียหรือเสื่อมสภาพหรือไม่!?

เช็กให้ชัวร์ โช้คอัพเสียหรือเสื่อมสภาพหรือไม่!? โช้คอัพ (Shock Absorber) เป็นชิ้นส่วนสำคัญของรถมอเตอร์ไซค์ เพื่อรองรับแรงกระแทก ลดแรงสั่นสะเทือน และทำหน้าที่หน่วงการเคลื่อนที่ขึ้นลงของตัวรถมอเตอร์ไซค์ เพื่อให้ล้อรถสัมผัสกับพื้นผิวถนนเกิดความนุ่มนวลขณะขับขี่มากที่สุด อีกทั้ง โช้คอัพยังช่วยให้รถมอเตอร์ไซค์มีการทรงตัวได้ดีด้วย

การดูแลโช้คอัพ

เช็กให้ชัวร์ โช้คอัพเสียหรือเสื่อมสภาพหรือไม่!?

การดูแล โช้คอัพ ควรเช็กตามระยะการใช้งาน รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้โช้คอัพเสียหาย โดยเฉพาะโช้คอัพเกิดการรั่วซึมหรือเสื่อมสภาพ ด้วยเหตุนี้เราต้องเช็กให้ชัวร์ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยสามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

1. เมื่อขับขี่รถมอเตอร์ไซค์บนพื้นถนนขรุขระจะมีเสียงดัง และมีการกระแทกที่รุนแรง ทำให้การขับขี่รถไม่นุ่มนวล ซึ่งเกิดจากการที่โช้คอัพคืนตัวเร็วกว่าปกติ

2. ขณะขับขี่รถมอเตอร์ไซค์มีอาการแกว่ง ทรงตัวได้ไม่ดี หรือควบคุมรถระหว่างการเข้าโค้งไม่สะดวก

3. ลองทดสอบด้วยการใช้น้ำหนักตัวกดบริเวณโช้คอัพแล้วปล่อย ถ้ามีการเด้งขึ้นเร็วแสดงว่า “โช้คอัพเสีย

4. มีคราบน้ำมันซึมออกมาจากโช้คอัพ

5. เมื่อขับขี่ไปนาน ๆ ดอกยางจะเริ่มสึกเป็นบั้ง ๆ ตามแนวขวาง ซึ่งสาเหตุมาจากการซับแรงกระแทกลดลง

นอกจากนี้ โช้คอัพจะมีอายุการใช้งานที่จำกัด ไม่ต่างไปจากชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์ชนิดอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่อายุการใช้งานอยู่ที่ 5 ปี หรือระยะทาง 100,000 กิโลเมตร แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ด้วย ฉะนั้น เรามาดูกันว่า สาเหตุที่ทำให้โช้คอัพเสีย หรือเสื่อมสภาพเร็วกว่าอายุการใช้งานปกติ มีอะไรบ้าง!?

ซีลยางโช้คอัพเสื่อมสภาพ

การเสื่อมสภาพอาจเกิดจากอายุการใช้งานเริ่มสิ้นสุด และถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนโช้คอัพ หรือการที่รถมอเตอร์ไซค์ไม่ได้ใช้งานนานก็มีสิทธิ์ทำให้โช้คอัพเสื่อมสภาพได้ เนื่องจากขณะที่โช้คอัพทำงานแกนโช้คจะนำเอาน้ำมันออกมาเล็กน้อยเพื่อช่วยหล่อลื่นซีลยาง หากจอดมอเตอร์ไซค์ทิ้งไว้เป็นเวลานาน ซีลยางก็อาจจะแข็งและเสื่อมสภาพง่ายขึ้น ส่งผลให้โช้ครั่วนั่งเอง

การติดตั้งโช้คอัพผิดพลาด

หากช่างไม่ชำนาญการ หรือไม่มีประสบการณ์ อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้โช้คอัพรั่ว หรือเสื่อมสภาพได้ ตัวอย่างเช่น การใช้คีมจับแกนโช้ค ส่งผลให้แกนโช้คเป็นรอยและเสียดสีให้ซีลยางขาด ตลอดจนการติดตั้งโช้คอัพโดยที่องศาไม่ตรงกับจุดยึด ทำให้โช้คอัพงอและซีลยางเสียหาย

  • สำหรับคนที่ใช้งานรถมอเตอร์ไซค์บ่อย ๆ โดยบรรทุกหนักเกินเกณฑ์ที่รถมอเตอร์ไซค์จะรับได้ และขับขี่ด้วยความเร็วสูง มีการเข้าโค้งบนท้องถนนต่อเนื่อง ตลอดจนขับขี่บนเส้นทางขรุขระ อาจทำให้โช้คอัพทำงานหนักเกินไปส่งผลให้เสื่อมสภาพเร็วขึ้น
  • ปล่อยให้แกนโช้คอัพมีฝุ่นและเศษดินเกาะเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้โช้คเสื่อมภาพเร็วขึ้น

วิธีแก้ไขโช้คอัพเสื่อมสภาพเบื้องต้น

เช็กให้ชัวร์ โช้คอัพเสียหรือเสื่อมสภาพหรือไม่!?

หากคุณเช็กรถมอเตอร์ไซค์ของตัวเอง แล้วมีอาการตามที่กล่าวไปข้างต้น แสดงว่า โช้คอัพเริ่มเสีย หรือเสื่อมสภาพแล้ว จึงควรหยุดใช้งานจนกว่าจะเปลี่ยนโช้คอัพใหม่ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้งานก็ควรขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ช้า ๆ ระมัดระวังเส้นทางขรุขระเป็นพิเศษ และเข้าโค้งอย่างระวังด้วย ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องคำนึงเกี่ยวกับการเปลี่ยนโช้คอัพมี 2 ข้อหลัก ๆ คือ

1. ควรเปลี่ยนโช้คอัพพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง ในกรณีที่โช้คอัพรถมอเตอร์ไซค์รุ่นนั้นเป็นแบบคู่

2. ไม่ควรดัดแปลงโช้คอัพ หรือใช้โช้คอัพที่ไม่ได้ผลิตมาเพื่อรถมอเตอร์ไซค์รุ่นของคุณ

โช้คอัพรถมอเตอร์ไซค์ มีกี่แบบ

เช็กให้ชัวร์ โช้คอัพเสียหรือเสื่อมสภาพหรือไม่!?

โช้คอัพมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันมีหลายแบบมาก ขึ้นอยู่กับนวัตกรรมที่ใช้ผลิตโช้คแต่ละชนิด แต่ถ้าหากจะให้จำแนกโช้คอัพมอเตอร์ไซค์สามารถแบ่งได้ 5 รูปแบบหลัก ๆ ดังนี้

โช้คอัพมอเตอร์ไซค์แบบคอยล์ (Coilover Shocks)

ซึ่งประกอบไปด้วยลูกคอยล์เหลื่อมติดกับกรองน้ำมัน สามารถปรับแต่งการเคลื่อนที่ในด้านต่าง ๆ เช่น การปรับความแข็งของลูกคอยล์ และการปรับความแข็งการรับน้ำหนัก

โช้คอัพมอเตอร์ไซค์แบบแอร์ (Air Shocks)

เป็นการใช้ลมอัดเพื่อปรับการแกนยาวของโช้คอัพมอเตอร์ไซค์ โดยปรับแต่งความแข็งและความอ่อน พร้อมกับการรับน้ำหนักได้

โช้คอัพมอเตอร์ไซค์แบบเหยียบน้ำมัน (Emulsion Shocks)

คือ ลูกคอยล์และน้ำมันอยู่ในถังเดียวกัน มีการปรับความแข็งของลูกคอยล์และการปรับความรับน้ำหนักของน้ำมันได้เป็นอย่างดี

โช้คอัพมอเตอร์ไซค์แบบแบบสปริง (Mono Spring Shocks)

มีการออกแบบให้รองรับน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 120 กิโลกรัม สปริงโช้คอัพมีความนิ่ม และตั้งพรีโหลดไม่สูงนัก จึงมีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับการรับน้ำหนักไม่เกิน 120 กิโลกรัม เพราะหากหนักกว่านั้น สปริงโช้คอัพที่มีความนิ่มจะยุบตัวลงไปค่อนข้างมากและดีดตัวกลับอย่างรวดเร็ว

โช้คอัพมอเตอร์ไซค์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shocks)

การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาปรับแต่งและควบคุมการทำงาน โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้เซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของรถมอเตอร์ไซค์

บทความแนะนำ

สรุป

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ทุกคนควรเช็กโช้คอัพรถของตัวเองให้ดี หากโช้คอัพเสียหรือเสื่อมสภาพ จะส่งผลต่อการขับขี่ที่ไม่มีความปลอดภัย เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และที่สำคัญ หากคุณมีแพลนที่จะเปลี่ยนโช้คอัพ จำเป็นต้องเลือกโช้คอัพที่ได้คุณภาพและมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับรุ่นรถมอเตอร์ไซค์ของคุณด้วย และสำหรับใครที่สนใจโช้คอัพ หรือต้องการปรึกษาเพิ่มเติม NRM MOTOR ยินดีให้บริการ พร้อมทั้งมีจำหน่ายโช้คอัพที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน พร้อมบริการจัดส่งให้ถึงบ้านคุณทั่วประเทศ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

โทร : 04-4511982

Line : @narinmotor

Facebook : NRM Motor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *