สิ่งที่ควรรู้สำหรับ ป้าย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

สิ่งที่ควรรู้สำหรับ ป้าย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

สิ่งที่ควรรู้สำหรับ ป้าย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ สำหรับผู้ที่ใช้รถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่คงเคยได้ยินเรื่อง ป้ายพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ว่าเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์  แค่มีหลายคนที่ละเลยการต่อ ป้าย พ.ร.บ. เพราะมองว่าไม่ได้สำคัญอะไรทั้งที่เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อเจ้ารถจักรยานยนต์ ในทางด้านกฎหายเจ้าของรถจักรยานยนต์จะต้องมี ป้าย พ.ร.บ. ถึงจะสามารถขับขี่รถรถจักรยานยนต์ได้ ในวันนี้ NRM Motor จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ ป้ายพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ให้มากขึ้น และจะมาบอกเหตุผลว่าทำไมเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์ควรที่จะมี ป้ายพ.ร.บ.

พ.ร.บ. คืออะไร

สติกเกอร์ พ.ร.บ.

พ.ร.บ. คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยยานพาหนะบนท้องถนนประเภทรถ โดยรถทุกคันจะต้องจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำและมีไว้เป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่, ผู้โดยสาร รวมถึงผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองและรับค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พ.ร.บ. ไว้ พ.ร.บ. สามารถคุ้มครองได้ดังนี้

1.ค่าเสียหายเบื้องต้น

ป้าย พ.ร.บ. จะให้การคุ้มครองทันทีทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารหลังจากเกิดอุบัติเหตุโดยไม่จำเป็นต้องรอพิสูจน์ว่าใครถูกหรือผิดสำหรับเจ้าของรถคันไหนมีป้าย พ.ร.บ. จะได้เงินชดเชยภายใน 7 วัน ตามเงื่อนไขต่อไปนี้

  • กรณีบาดเจ็บ จะได้รับเงินชดเชยสูงสุดคนละไม่เกิน 30,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะ จะได้รับเงินชดเชยสูงสุดคนละไม่เกิน 35,000 บา
  • กรณีที่ได้รับบาดเจ็บแล้วสูญเสียอวัยวะตามมา จะได้รับเงินชดเชยคนละไม่เกิน 65,000 บาท
  • กรณีรักษาพยาบาลแล้วเสียชีวิตก็จะได้รับค่าชดเชยคนละไม่เกิน 65,000 บาท

2.ค่าสินไหมทดแทน

ค่าสินไหมทดแทน คือ เงินชดเชยที่ผู้ที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูกจะได้รับค่าสินไหมทดแทนทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ตามกรณีดังนี้

  • กรณีได้รับบาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริงคนละไม่เกิน 80,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ มีหลักเกณฑ์การรับเงินชดเชย ดังนี้

1.สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป – 300,000 บาท

2.สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน – 250,000 บาท

3.สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป – 200,000 บาท

  • กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริงคนละไม่เกิน 300,000 บาท
  • ได้รับค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยในได้รับค่าชดเชยวันละ 200 บาท ในระยะเวลาไม่เกิน 20 วัน

* โดยค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดจะไม่เกินคนละ 304,000 บาท

3.พ.ร.บ. เคลมประกันอย่างไร

การเคลมประกัน คือ การเรียกร้องสิทธิประโยชน์ของผู้มีพ.ร.บ. หรือประกันภัยใดๆ ก็ตาม ซึ่งการขอใช้สิทธิ์ พ.ร.บ.จะต้องดำเนินการภายใน 180 วันหลังจากวันที่เกิดเหตุ ในการเครมพรบ จะต้องเตรียมเอกสารดังนี้ 

  1. ใบบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจเก็บไว้เป็นหลักฐาน
  2. ใบรับรองแพทย์พร้อมใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
  3. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ที่ประสบเหตุหรือใบมรณะบัตร
  4. สำเนาบัตรประชนชนของทายาท

หากเกิดเหตุการณ์ค่ารักษาพยาบาลเกินวงเงิน สามารถหักค่าใช้จ่ายจากสิทธิอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ประกันสังคม, 30 บาทรักษาทุกโรค, บัตรทอง หรือประกันสุขภาพและประกันชีวิต หลังจากนั้นจะได้รับค่าชดเชยตามสิทธิ์ภายใน 7 วันหลังจากยื่นเอกสารครบถ้วน

ป้าย พ.ร.บ. กับ ป้ายภาษี แตกต่างกันอย่างไร

ป้าย พ.ร.บ.

เชื่อว่ามีหลายคนที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องป้าย พ.ร.บ. กับป้ายภาษี  ความจริงแล้วป้ายคนส่วนใหญ่นิยมที่ติดอยู่บนกระจกรถสีเหลี่ยม คือ ป้ายภาษี ส่วนป้าย พ.ร.บ. จะมีขนาดเท่ากับกระดาษขนาด A4 ตามกฎหมายการจราจรไม่ว่าจะรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ต้องติดป้ายภาษี แต่ทางที่ดีควรพกป้ายพ.ร.บติดรถไว้ด้วยเพื่อเวลาเจ้าหน้าตำรวจขอตรวจสอบจะได้ตรวจสอบได้

การเลือกซองสำหรับติดป้ายภาษี

1.เลือกจากรูปแบบการใช้งาน

แผ่นที่ติดใบภาษีบนกระจกรถหรือตัวรถจะมีอยู่ด้วย 2 ประเภทคือ แบบแผ่นติดที่สามารถใช้นานได้หลายปีและแผ่นที่ใช้ติดตั้งครั้งเดียวแล้วทิ้ง ทางที่ดีควรเลือกแผ่นที่สามารถใช้ได้นานโดยทั่วไปเราจะทำการติดป้ายภาษีแล้วไม่เอาออกจนกว่าจะทำการเปลี่ยนแผ่นทำให้หลายคนนิยมเลือกใช้ผ่านแปะได้นานเพราะประหยัดในการใช้งานส่วนป้าย พ.ร.บ. สำหรับรถยนต์ควรเก็บใส่ที่เก็บในรถยนต์ ส่วนรถจักรยานยนต์สามารถใส่ใต้เบาะได้เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบควรพกป้าย พ.ร.บ. ติดรถประจำ

2.ขนาดของซ้องหรือแผ่นแปะป้ายภาษีหรือ ป้าย พ.ร.บ.

ในการเลือกซองสำหรับใส่ป้าย พ.ร.บ. ควรเลือกซ้องที่มีขนาดที่ใหญ่กว่าป้าย พ.ร.บ. เล็กน้อยแต่ไม่ควรใหญ่จนเกินไปเพราะจะเก็บลำบาก ส่วนป้ายภาษีที่ติดหน้ากระจกรถยนต์หรือติดที่ตัวรถจักรยานยนควรเลือกกรอบที่ที่ขนาดพอดีไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป แต่ต้องเป็นกรอบที่สามารถยึดเกาะกับกระจกให้ดีโดยส่วนใหญ่แล้วกรอบประเภทนี้ก็จะออกแบบมาในขนาดที่พอดีกับป้ายภาษี แต่ควรเลือกกรอบที่สามารถใช้งานได้หลายครั้งเพื่อที่จะได้ไม่ต้องซื้อแผ่นใหม่มาเปลี่ยน

3.การติดป้ายภาษี

การติดป้ายภาษีมีให้เลือกหลายแบบหลักๆมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือแบบกาว แบบสติกเกอร์สุญญากาศ หรือแบบจุ๊บยาง แต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป อย่างแบบกาวและแบบสติกเกอร์ถ้าเลือกกาวที่ไม่มีคุณภาพอาจจะทำให้เกิดคราบเหนียวหรือคราบสกปรกได้ง่าย ถ้าหากโดนความร้อนมากเกินไปอาจจะละลายทำให้ประสิทธิภาพของการติดกับกระจกนั้นลดน้อยลงและจะทำให้เลอะในส่วนของป้ายภาษีได้ ส่วนจุ๊บยางสุญญากาศมีข้อดีตรงที่สามารถติดได้เน้น ลอกออกง่ายหรือเปลี่ยนตำแหน่งในการติดได้ง่ายไม่เกิดคราบกาวแต่ไม่ควรให้จุ๊บยางโดนความร้อนนานเพราะอาจจะทำให้จุ๊บยางเปลี่ยนสี บิดเบี้ยวและทำให้ติดได้ไม่แน่น

บทความแนะนำ

สรุป

สำหรับใครที่มีรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ควรมีป้าย พ.ร.บ. และป้ายภาษี เพราะจะช่วยในเรื่องของการคุ้มครองต่างๆอย่างเช่นกรณีเกิดอุบัติเหตุจะได้ค่าชดเชยโดยที่ไม่ต้องพิสูจน์ว่าใครถูกหรือผิดไม่ว่าจะกรณีบาดเจ็บหรือกรณีเสียชีวิตจะได้รับเงินชดเชย  แต่ในกรณีที่เป็นฝ่ายถูกจะได้รับค่าสินไหมทดแทนทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ที่สำคัญการมีป้าย พ.ร.บ. จะสามารถช่วยเคลมประกันได้อีกด้วย แต่ว่ายังมีหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับป้าย พ.ร.บ. ว่าคือป้ายที่ติดอยู่บนกระจกรถ แต่ความจริงแล้วคือป้ายภาษี ส่วนป้าย พ.ร.บ. จะมีขนาดเท่ากระดาษ A4 สำหรับเจ้าของรถควรพกป้าย พ.ร.บ. ติดรถเป็นประจำเพื่อที่สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา

หากใครที่กำลังตามหาสติกเกอร์ป้าย พ.ร.บ. ราคาถูกรับประกันของแท้ ร้านนรินทร์มอเตอร์จำหน่ายอะไหล่มอเตอร์ไซค์ต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะหัวเทียน ปะเก็น หรือแบตเตอรี่จากแบรนด์ชั้นนำรับประกันของแท้ พร้อมส่งตรงถึงบ้านอย่างรวดเร็ว สั่งซื้อออนไลน์ได้เลยทันทีหรือติดต่อเราได้ที่ 044-511982 หรือ 044-511376 เปิดบริการ วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 8.00 – 17.30 ถ้าหากสงสัยว่าควรเลือกซื้อยางมอเตอร์ไซค์ยี่ห้อไหนดีสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ NRM Motor

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

โทร : 04-4511982

Line : @narinmotor

Facebook : NRM Motor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *