กฎหมายการขับขี่มอเตอร์ไซค์ที่ควรรู้

กฎหมายการขับขี่มอเตอร์ไซค์ที่ควรรู้

กฎหมายการขับขี่มอเตอร์ไซค์ที่ควรรู้ เรื่องของความปลอดภัยบนท้องถนน เป็นสิ่งสำคัญในอันดับต้น ๆ ของเมืองไทยเลยก็ว่าได้ เพราะเกิดการบาดเจ็บ และการสูญเสียจากการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์จำนวนมาก จึงควรใส่ใจและต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด วันนี้จึงมาอัปเดตกฎหมายจราจร รวมถึงแนะนำกฎหมายเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการขับขี่มอเตอร์ไซค์มาฝาก

กฎหมายเบื้องต้นที่ผู้ขับขี่ทุกคนควรให้ความสำคัญ

กฎหมายเบื้องต้นที่ผู้ขับขี่ทุกคนควร ซึ่งในบางข้อนี้หลายคนอาจรู้ดีอยู่แล้ว และส่วนหนึ่งก็เป็นกฎหมายที่ต้องดูแลสภาพรถมอเตอร์ไซค์ของตัวเองอย่างเคร่งครัดด้วย ก็เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน โดยกฎหมายเกี่ยวกับการขับขี่มอเตอร์ไซค์เบื้องต้นที่สำคัญ มีดังนี้

กฎหมายเบื้องต้นที่ผู้ขับขี่ทุกคนควรให้ความสำคัญ

  1. ห้ามบรรทุกของเกิน 50 กิโลกรัม นั่งซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ได้เพียง 1 คน ไม่ควรซ้อน 3 คน
  2. ห้ามใช้ความเร็วเกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในเขต กทม./ เมืองพัทยา/ เขตเทศบาล และนอกเขตไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่หากมีเครื่องหมายจราจรกำหนดความเร็วไว้ต้องห้ามขับขี่เกินอัตราความเร็วที่กำหนด
  3. ก่อนเลี้ยวรถ เปลี่ยนเลน ลดความเร็ว หยุดหรือจอดรถ ต้องให้สัญญาณด้วยมือหรือแขน หรือไฟสัญญาณเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร
  4. เมื่อจะเลี้ยวรถหรือเปลี่ยนเลน ต้องใช้ไฟสัญญาณกะพริบที่ติดอยู่ท้ายรถ ไปในทิศทางที่จะเลี้ยวหรือเปลี่ยนเลน
  5. เมื่อจะให้รถคันอื่นแซงหรือผ่านขึ้นหน้า ต้องให้ไฟสัญญาณกะพริบที่ติดอยู่ท้ายรถหรือทางด้านซ้ายของรถ
  6. ระมัดระวังไม่ให้รถชนหรือโดนคนเดินเท้าไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของทาง และต้องให้สัญญาณเตือนคนเดินเท้าให้รู้ตัวเมื่อจําเป็น
  7. ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในเลนซ้าย โดยไม่ล้ำกึ่งกลางของเลน เว้นแต่เลนซ้ายมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร หรือเจ้าพนักงานจราจรกําหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว หรือเลนกว้างไม่ถึงหกเมตร
  8. รถที่มีความเร็วช้า หรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้

อัตราค่าปรับและบทลงโทษการทำผิดกฎจราจร

อัตราค่าปรับและบทลงโทษการทำผิดกฎจราจร

สำหรับผู้ขับขี่รถมอเตอร์ที่ทำผิดกฎหมายจราจร มีอัตราค่าปรับและบทลงโทษในกฎหมายจราจร โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกประกาศปรับเพิ่มบทลงโทษ กฎหมายจราจรใหม่ สำหรับหลายกรณีความผิด ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 ได้แก่

ขับรถเร็วเกินกำหนด ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง และไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย

  • อัตราโทษเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับใหม่เป็นไม่เกิน 4,000 บาท

ขับรถย้อนศร ไม่สวมหมวกนิรภัย

  • อัตราโทษเดิมปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับใหม่เป็นไม่เกิน 2,000 บาท

จอดรถมอเตอร์ไซค์ในที่ห้ามจอด

  • มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น

  • อัตราโทษเดิมจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท เพิ่มเป็นจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เมาแล้วขับ กรณีกระทำผิดครั้งแรก

  • มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เมาแล้วขับ กรณีกระทำผิดซ้ำภายในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่กระทำความผิดครั้งแรก

  • อัตราโทษจะถูกปรับเพิ่มเป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับ 50,000-100,000 บาท

ไม่เพียงมีบทลงโทษตามกฎหมายเท่านั้น ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังมีการออกระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับระบบการบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ พ.ศ. 2565 หรือตัดแต้มใบขับขี่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 9 มกราคม 2566 เป็นต้นไป

โดยระบุไว้ว่า ผู้ที่มีใบอนุญาตขับขี่ทุกประเภท จะมีคะแนนความประพฤติคนละ 12 คะแนน หากทำผิดกฎจราจรในข้อหาที่ระบุไว้ จะถูกตัดคะแนนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ทั้งนี้คะแนนที่ถูกตัดไปจะได้รับคืนเมื่อเข้าอบรมกับกรมการขนส่งทางบก หรือรอให้ครบ 1 ปี ก็จะได้คะแนนคืนอัตโนมัติ แต่หากผู้ขับขี่ถูกตัดจนเหลือ 0 คะแนน จะถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือห้ามขับรถ (ทุกประเภท) เป็นเวลา 90 วัน และหากฝ่าฝืนขับรถในขณะถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ซึ่งรายละเอียดการตัดคะแนน จะมีตั้งแต่ความผิดขั้นพื้นฐาน เช่น ไม่สวมหมวกกันน็อก, ขับบนทางเท้า, ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย, ไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย, ขับรถเร็วเกินกำหนด, ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ, ไม่ติดป้ายทะเบียน, ไม่ติดป้ายภาษี, ไม่หลบรถฉุกเฉิน

กรณีที่ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ขับย้อนศร, ขับรถในระหว่างโดนพักใช้หรือถูกเพิกถอนใบขับขี่, ขับรถชนแล้วหนี, ขับรถผิดวิสัยไปจากการขับธรรมดา, ขับรถในขณะหย่อนความสามารถ, เมาแล้วขับ, แข่งรถบนถนน, ขับรถในขณะเสพยาเสพติด นอกจากโดนตัดคะแนนแล้วยังได้รับโทษทั้งจำและปรับด้วย

หลักพื้นฐานการขับขี่อย่างปลอดภัย 10 ประการ

หลักพื้นฐานการขับขี่อย่างปลอดภัย 10 ประการ

การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์อย่างปลอดภัย เป็นสิ่งสำคัญทุกท่านควรทราบและนำไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความปลอดภัยมากที่สุด โดยมีหลักพื้นฐานการขับขี่อย่างปลอดภัย 10 ประการ ดังนี้

  1. สวมหมวกกันน็อกทุกครั้งเวลาขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ไม่ว่าจะเป็นระยะทางใกล้หรือไกล
  2. หมั่นตรวจระบบเบรก ยาง และระบบส่องสว่างให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  3. มองดูด้านหลัง และให้สัญญาณไฟทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนช่องทาง
  4. จดจำสัญญาณจราจรที่สำคัญใบแต่ละประเภท
  5. อย่าขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ สวนทางหรือข้ามช่องทางวิ่ง
  6. ระมัดระวัง และลดความเร็วทุกครั้ง เมื่อพบกับสภาพถนนที่ขรุขระเป็นหลุมทราย ถนนเปียกลื่น และทางม้าลาย
  7. อย่าขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
  8. ห้ามเสพหรือดื่มของมึนเมาและขับขี่รถมอเตอร์ไซค์
  9. การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ผ่านบริเวณสี่แยกควรหยุดรถ หรือชะลอความเร็ว
  10. การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์บนถนนที่ไม่มีไฟส่องสว่าง ควรขับโดยใช้ความเร็วต่ำกว่าเวลากลางวัน

ขอบคุณแหล่งอ้างอิงจาก : เว็บไซต์ Yamaha, grandprix, yakryder

บทความแนะนำ

สรุป

การใช้รถใช้ถนนไม่ว่าเป็นรถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ หรือจักรยาน ย่อมมีกฎระเบียบในการใช้ถนนสาธารณะเป็นมาตรฐาน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความปลอดภัยต่อชีวิตของตนเองและผู้อื่น การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ทุกครั้ง ควรตรวจเช็กสภาพรถ อะไหล่มอเตอร์ไซค์ให้สามารถใช้งานได้ปกติ ไม่มีส่วนใดเกิดปัญหาหรือเสื่อมสภาพ ด้วยความหวังดีจาก ร้าน NRM Motor หรือ ร้านนรินทร์มอเตอร์ ผู้จำหน่ายอะไหล่มอเตอร์ไซค์ทุกชนิดที่มีประสบการณ์ในวงการอะไหล่มอเตอร์ไซค์นานกว่า 49 ปี สามารถปรึกษาและสั่งซื้ออะไหล่คุณภาพจากร้านเราได้ การันตีนคุณภาพ และบริการการขายอย่างดีเยี่ยม

สามารถสั่งซื้อสินค้าโดยตรงได้ที่

Shopee : NRM Motor

โทร : 04-4511982

Line : @narinmotor

Facebook : NRM Motor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *