มาทำความรู้จักกับปะเก็น ชิ้นส่วนสำคัญของรถมอเตอร์ไซค์

ปะเก็น

ในการใช้ยานพาหนะนั้นจะมีชิ้นส่วนของอะไหล่มอเตอร์ไซค์จำนวนมากโดยอะไหล่มอเตอร์ไซค์แต่ละชิ้นมีความสำคัญและหน้าที่แตกต่างกัน หากขาดชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งไปจะมีผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์ได้ โดยชิ้นส่วนที่หลาย ๆ คนรู้จักและให้ความสำคัญเป็นอย่างมากนั่นก็คือ ปะเก็น โดยอะไหล่มอเตอร์ไซค์ชิ้นนี้มีความสำคัญต่อเครื่องยนต์มาก ๆ ตัวปะเก็นนั้นมีหลายแบบให้เลือกซึ่งจะต้องใช้งานให้เหมาะสม แต่คงมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่าควรเลือกใช้ปะเก็นยังไงหรือเลือกปะเก็นแบบไหนจึงจะเหมาะสม วันนี้ NRM Motor จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับปะเก็นให้มากขึ้น ลองมาดูกันว่าปะเก็นมีกี่ประเภทและควรใช้ปะเก็นแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน

ทำความรู้จักกับปะเก็น

ปะเก็นมอเตอร์ไซค์

ปะเก็น คือ วัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่น ใช้ประกอบในชิ้นส่วนเพื่อกั้นระหว่างหน้าสัมผัสวัสดุสองชิ้นที่จะนำมาประกบติดกัน ตัวปะเก็นใช้งานในการป้องกันการรั่วไหล โดยมีลักษณะ คือ ฝาสูบเหล็ก, หน้าแปลนเครื่องอะลูมิเนียม, อ่างน้ำมันเครื่อง, ห้องน้ำมันของชุดเฟือง, แม่พิมพ์ เป็นต้น โดยตัวปะเก็นจะแบ่งไปตามวัสดุที่ใช้ทำ ซึ่งแต่ละแบบมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ ปะเก็นยาง, ปะเก็นโลหะ, ปะเก็นทนไฟ, ปะเก็นเทปล่อน, ปะเก็นเชือก, ปะเก็นไม่มีส่วนผสมแร่ใยหิน และปะเก็นฉนวนทนความร้อน เป็นต้น

ประเภทของปะเก็น

ปะเก็นคือชิ้นส่วนของเครื่องจักร โดยหน้าที่หลักของปะเก็น คือ ป้องกันการรั่วไหลของสิ่งที่อยู่ภายใน ไม่ว่าจะเป็นของเหลวหรือแก๊สไม่ให้รั่วไหลออกมาภายนอก ปะเก็นจะแนบสนิทเข้ากับรอยต่อทั้ง 2 ด้าน ทำให้พื้นผิวสัมผัสแนบสนิท ปะเก็นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ดังนี้

ปะเก็นยาง

ปะเก็นยาง

1.ปะเก็นยางธรรมชาติ

ปะเก็นยางธรรมชาติเป็นปะเก็นที่ผลิตจากต้นยางพารา ปะเก็นประเภทนี้มีจุดเด่นคือสามารถทนแรงกดได้ดีกว่าปะเก็นยางชนิดอื่น ๆ นิยมใช้งานกับเครื่องจักรที่มีความสั่นสะเทือนสูง

2.ปะเก็นยาง NBR (Nitrile rubber)

ปะเก็นยาง NBR เป็นปะเก็นที่ผลิตจากยางสังเคราะห์ เป็นยางกันรั่วซึม ถือเป็นปะเก็นที่นิยมใช้งานกันมากที่สุด มีความทนทานต่อเชื้อเพลิงปิโตรเลียมและน้ำมันหล่อลื่น ที่สำคัญราคาถูก และมีความยืดหยุ่นสูง

3.ปะเก็นยาง Neoprene

ปะเก็นยาง Neoprene เป็นปะเก็นที่ทำมาจากยางสังเคราะห์จากกระบวนการโพลีเมอไรเซชันของครอโรพรีน ทนการสึกหรอได้ดี ที่สำคัญเป็นยางที่ไม่ติดไฟ เมื่อเกิดไฟไหม้ตัวไฟจะไม่ลามสามารถดับไฟได้เอง

4.ปะเก็นยาง EPDM

ปะเก็นยาง EPDM เป็นปะเก็นที่ทำจากยาง EPDM เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง ถือเป็นยางที่นิยมใช้ทั่วไปในงานที่ต้องทำกลางแจ้ง หรืองานที่เกี่ยวกับสารเคมี ไปจนถึงงานที่เกี่ยวกับอุณหภูมิสูง ถือเป็นยางที่ทนต่อสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และสามารถทนน้ำ ไปจนถึงสามารถเป็นฉนวนกันไฟฟ้าได้ด้วย 

ปะเก็นซิลิโคน

ปะเก็นซิลิโคน

ปะเก็นซิลิโคน มีคุณสมบัติของยางซิลิโคนทำให้มีความยืดหยุ่นสูงกว่ายางชนิดอื่น สามารถทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำมาก เป็นที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตอาหาร และเภสัชกรรม

ปะเก็น Compressed Non-Asbestos Fiber

ปะเก็น Compressed Non-Asbestos Fiber คือ ปะเก็นที่มีข้อดีในเรื่องของความทนทานต่อสารเคมีของปะเก็นยาง และมีข้อดีในการรับแรงของเส้นใยแก้วจาก Fiber ต่าง ๆ มารวมเข้าด้วยกัน ปะเก็นประเภทนี้จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนด้วยกัน ดังนี้ 

  1. Fiber คือ ส่วนประกอบหลักที่เป็นตัวที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับปะเก็น
  2. Binder คือ สารยึดเกาะที่ทำหน้าที่เป็นตัวยึด Fiber ชนิดต่าง ๆ ให้คงรูปในรูปทรงต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้งาน นอกจากนี้ยังเป็นตัวที่เพิ่มความทนทานต่อสารเคมีที่จะนำไปใช้งานด้วย

ปะเก็นแบบอโลหะ (Non-metallic gasket)

ปะเก็นแบบอโลหะเป็นปะเก็นที่ทำมาจากวัสดุที่ไม่ใช่โลหะ จะเป็นวัสดุจำพวกยาง ทำให้มีคุณสมบัติทนการกัดกร่อนได้ดี แต่ไม่สามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงกับความดันสูงได้

ปะเก็นโลหะ (Metallic gasket)

ปะเก็นโลหะเป็นปะเก็นที่มีความอ่อนตัวสูง เมื่อถูกกดด้วยแรงจะมีการยุบตัว จัดทำด้วยวัสดุจำพวก Soft, RTJ หรือ Ring gasket มีคุณสมบัติที่มีความแข็งแรงสูง แต่ไม่สามารถทนต่อการกัดกร่อนได้ สามารถใช้ในอุณหภูมิสูงและความดันสูงได้ดี

ปะเก็นแบบผสม (Composite gasket)

ปะเก็นแบบผสม เป็นปะเก็นที่ประกอบไปด้วยปะเก็นโลหะและอโลหะ เช่น  ปะเก็นฝาสูบ หรือปะเก็น Spiral would เป็นต้น ปะเก็นประเภทนี้ถูกออกแบบตามการใช้งานที่แตกต่างกัน 

ปะเก็นเหลว (Liquid gasket)

อาจจะเป็นปะเก็นที่ดูแปลกตา โดยเป็นปะเก็นที่มีลักษณะเหมือนกาวยาง ถือเป็นปะเก็นที่ช่วยป้องกันการรั่วซึม นิยมใช้ในงานเครื่องจักรกลหรือใช้ในท่อประปา โดยปะเก็นชนิดนี้ต้องเก็บให้ดีถ้าหากปล่อยให้ตัวปะเก็นแห้งจะไม่สามารถใช้งานได้

เทคนิคการเลือกใช้ปะเก็น

ปะเก็น

การเลือกใช้ปะเก็นควรเลือกจากวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ควรตรวจสอบคุณสมบัติของสารหรือวัสดุที่ใช้ในการผลิต โดยก่อนเลือกใช้งานควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ดังนี้

  1. ความทนทานต่อการนำไปใช้งาน ลองดูว่านำไปใช้งานอะไร เช่น นำไปใช้ป้องกันน้ำหรือสารเคมีต่าง ๆ
  2. ความหนาและความบางของตัวปะเก็น ดูว่าเหมาะกับชิ้นงานหรือไม่
  3. ความทนทานต่อความร้อนหรืออุณหภูมิที่อาจจะเปลี่ยนแปลงขณะใช้งาน
  4. ความทนทานต่อแรงกดทับหรือแรงอัดต่าง ๆ ลองดูว่าสามารถรองรับได้ขนาดไหน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายมากจนเกินไป
  5. ความสามารถในการป้องกันของเหลวหรือแก๊สต่าง ๆ เพื่อที่ไม่ให้เกิดการรั่วไหลหรือซึมผ่านออกมาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

สรุป

ปะเก็นถือเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญที่ขาดไปไม่ได้ในการทำงานของเครื่องยนต์ต่าง ๆ ควรเลือกใช้ปะเก็นให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อที่จะได้ไม่เกิดความผิดพลาดในการทำงานของตัวเครื่อง ถ้าหากเลือกใช้ปะเก็นผิดประเภทอาจจะส่งผลต่อการทำงานได้ เช่น การเลือกใช้ปะเก็นที่ไม่สามารถกันน้ำได้ไปใช้กับน้ำจะทำให้เกิดการรั่วไหลได้ หรือใช้ปะเก็นที่ไม่สามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงได้กับงานที่ใช้ความร้อนอาจจะทำให้เกิดการเผาไหม้ได้ การเลือกใช้ปะเก็นที่ถูกวิธีคือต้องตรวจสอบความทนทานต่าง ๆ ไม่ว่าจะทนทานต่อสารเคมีหรือทนทานต่ออุณหภูมิเพื่อให้เหมาะสมกับงานนั้น ๆ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

โทร : 04-4511982

Line : @narinmotor

Facebook : NRM Motor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *